บทความ

ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ที่มีโรคประจำตัว และกินยาประจำ

ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ที่มีโรคประจำตัว และกินยาประจำ

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ แต่ควรรอให้อาการต่างๆ คงที่ก่อน
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง ควรได้รับคำแนะนำในการรับวัคซีนจากแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ที่ดูแลรักษาโรคของท่านก่อนการรับวัคซีนโควิด-19
  • ผู้ที่ทานยารักษาโรค หรือ ยารักษาโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำในการรับวัคซีน เช่น ขนาดของเข็มที่ใช้ฉีด และข้อควรปฏิบัติหลังการฉีด

องค์การอนามัยโลกยืนยันแล้วว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง และหลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด เพราะแม้ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว ก็ยังสามารถมีโอกาสติดโรคโควิด-19 ได้ จากละอองฝอย (Droplets) จากการไอหรือจาม การสัมผัสสารคัดหลั่ง (Contact) เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ เป็นต้น

สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือกำลังใช้ยาบางชนิด สามารถปฏิบัติตัวเบื้องต้นตามคำแนะนำดังนี้

ผู้ที่มีโรคประจำตัวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

โรคประจำตัวคำแนะนำ
โรคหัวใจและหลอดเลือด(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการ หรือ อาการของโรคหัวใจยังไม่คงที่ หรือมีอาการอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งแพทย์ประจำตัวพิจารณาแล้วว่ายังไม่ควรฉีดวัคซีน
โรคไตเรื้อรัง ได้รับการบำบัดทดแทนไต
ฟอกไตเทียม
(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)
สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการหรืออาการของโรคยังไม่คงที่ หรือมีอาการอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งแพทย์ประจำตัวพิจารณาแล้วว่ายังไม่ควรฉีดวัคซีน
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)แนะนำรับวัคซีนหลังผ่าตัด 1 เดือน ต้องมีอาการคงที่และได้รับความเห็นชอบจากแพทย์แล้ว
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการ หรือ อาการของโรคยังไม่คงที่ แนะนำควรรอหลังหายจากอาการ 2-4 สัปดาห์
โรคมะเร็ง(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดได้ ยกเว้นผู้ที่กำลังรับยาเคมีบำบัด หรือกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดโรคมะเร็ง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดคนไข้โรคมะเร็งระบบเลือด ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก ควรฉีดวัคซีนหลังการรักษาครบ 3 เดือนไปแล้ว
โรคเบาหวานและโรคอ้วน(น้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกาย
มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)
สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการหรืออาการของโรคยังไม่คงที่
โรคเอดส์(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสซึ่งควรรักษาให้อาการคงที่ก่อน
โรคไขข้ออักเสบและโรคแพ้ภูมิตัวเอง(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการหรืออาการของโรคยังไม่คงที่
โรคระบบประสาทภูมิคุ้มกัน
เช่น Autoimmune encephalitis,
Multiple sclerosis, Neuromyeliti optica, Myelitis, Acute polyneuropathy, Guillain-Barre Syndrome, Chronic polyneuropathy, Myositis, Bell’s palsy, Cranial neuritis(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)
สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการหรืออาการของโรคยังไม่คงที่ ควรจะรออย่างน้อย 4 สัปดาห์จนกว่าอาการจะคงที่
โรคหลอดเลือดสมอง (คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดได้ ยกเว้นผู้ที่อาการยังไม่คงที่ หรือมีอาการอื่นๆที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งแพทย์ประจำตัวพิจารณาแล้วว่ายังไม่ควรฉีด
โรคลมชัก(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดได้ ไม่มีข้อห้าม
โรคทางระบบประสาทอื่นๆ
เช่น โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อม โรคเซลล์
ประสาทสั่งการเสื่อมตัว โรคเส้นประสาทและ
กล้ามเนื้อที่เกิดจากพันธุกรรมหรือการเสื่อม(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)
สามารถฉีดได้ ไม่มีข้อห้าม

ผู้ที่กำลังใช้ยารักษาโรค หรือ ยารักษาโรคประจำตัวบางชนิด กับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

ยาโรคประจำตัวที่ควรเฝ้าระวังคำแนะนำ
ยาสเตียรอยด์(Prednisolone 20 มิลลิกรัม เทียบเท่า Dexamethasone 3 มิลลิกรัม และ Methylprednisolone 16 มิลลิกรัม)(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)Prednisolone ขนาดน้อยกว่า 20 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ สเตียรอยด์อื่นที่เทียบเท่า สามารถฉีดได้โดยไม่ต้องหยุดยาแต่ถ้ามากกว่า 20 มิลลิกรัมต่อวัน หรืออยู่ในช่วงกำลังลดปริมาณยาลง ผู้ป่วยต้องมีอาการคงที่ ถึงสามารถฉีดวัคซีนได้
ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น Azathioprine, IVIG, Cyclophosphamide ชนิดกิน(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดได้โดยไม่ต้องหยุดยา
Cyclophosphamide ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดวัคซีนได้ หากอาการคงที่ โดยแนะนำให้หยุดยา 1 สัปดาห์ หลังการฉีดวัคซีน
Mycophenolate(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดวัคซีนได้ หากอาการคงที่ โดยแนะนำให้หยุดยา Mycophenolate 1 สัปดาห์ หลังการฉีดวัคซีน
Methotrexate(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดวัคซีนได้ หากอาการคงที่ โดยแนะนำให้หยุดยา Methotrexate 1 สัปดาห์ หลังการฉีดวัคซีน
Hydroxychloroquine, Sulfasalazine, Leflunomide(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)ไม่ต้องปรับเปลี่ยนการรับยาหรือเลื่อนการฉีดวัคซีน
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด Warfarin(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิงสามารถฉีดได้ ในผู้ป่วยที่มีค่า INR น้อยกว่า 4 โดยใช้เข็มขนาด 25G หรือ 27G และไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน หลังฉีดเสร็จควรกดตรงที่ฉีดอย่างน้อย 2-5 นาทีจนแน่ใจว่าไม่มีเลือดออก
ยาป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เช่น Fondaparinux(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดวัคซีนได้ โดยฉีดก่อนยาชนิดนี้
ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่หรือ NOAC (Non-Vitamin K Antagonist Oral Anticoagulants) เช่น Dabigatran ,Rivaroxaban, Apixaban และ Edoxaban (คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ควรใช้เข็ม 25G หรือเล็กกว่าและไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน หลังฉีดเสร็จควรกดตรงที่ฉีดอย่างน้อย 2-5 นาทีจนแน่ใจว่าไม่มีเลือดออก
ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น Aspirin, Clopidogrel, Colostazol, Ticagrelor หรือ prasugrel(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ควรใช้เข็ม 25G หรือเล็กกว่าและไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน หลังฉีดเสร็จควรกดตรงที่ฉีดอย่างน้อย 2-5 นาทีจนแน่ใจว่าไม่มีเลือดออก
ยาแอนติบอดี (ยาที่ลงท้ายด้วย -mab)(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)ยา Rituximab : แนะนำฉีดวัคซีน ก่อนเริ่มยาครั้งแรก 14 วัน หรือหลังรับยาไปแล้ว 1 เดือนยา Omalizumab, Benralizumab, Dupilumab แนะนำฉีดวัคซีนก่อนหรือหลังรับยา 7 วัน

ที่มา : https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7-%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94