Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 2022

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 143

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 146

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 149

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 44

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 45

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 41
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์
Copyright 2024 - โรงเรียนแม่อ้อวิทยาคม ต.แม่อ้อ อ.พาน จ.เชียงราย

Virus (ไวรัสคอมพิวเตอร์) คืออะไร 

 

pic com1 1 

 

คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมหนึ่งที่มีผู้เขียนขึ้นมา โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายเชื้อโรคขนาดเล็ก ซึ่งถ้าไวรัสมันได้เข้าไปอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว มันจะทำงานด้วยตัวของมันเอง และจะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น ขัดขวางการอ่านข้อมูล ขัดขวางการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำ ขัดขวางการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และที่สร้างความเสียหายอย่างมากที่สุด คือ การเข้าไปทำลายแฟ้มข้อมูลหรือเข้าไปทำลายระบบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนบางครั้งไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป การทำงานของไวรัสแต่ละตัวจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้เขียนโปรแกรมนั้น ขึ้นมา เช่น ทำลายระบบปฏิบัติการ โปรแกรมใช้งานหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรือรบกวนการทำงาน เช่น การบู๊ตระบบช้าลง เรียกใช้โปรแกรมได้ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดอาการค้าง (แฮงก์ไม่ทราบสาเหตุ) เกิดข้อความวิ่งไปมาที่หน้าจอ หรือกรอบข้อความเตือนไม่ทราบสาเหตุ เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีการรายงานว่ามีจำนวนเซกเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ใช้โปรแกรมใด ๆ เข้าไปตรวจหาเลย ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป

 

ประเภทและวิธีการทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์

 

1. บู๊ตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses) คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบู๊ตเซกเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ การทำงานของบู๊ตเซกเตอร์ไวรัส บู๊ตเซ็กเตอร์ไวรัสจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อเราเสียบแผ่นดิสก์เก็ตคาไว้ที่ไดรว์ พอเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเครื่องจะบู๊ตข้อมูลจากแผ่นดิสก์ก่อน ถึงแม้ว่าแผนนี้จะเป็น Boot disk หรือไม่ก็ตาม แต่ถ้ามีไวรัสประเภทบู๊ตเซ็กเตอร์อยู่ก็จะสามารถส่งไวรัสเข้ามาเล่นงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ทัน ไวรัสประเภทนี้บางตัวก็ไม่มีอันตราย แต่บางตัวก็มีอันตรายมากถึงขั้นทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์บู๊ตไม่ขึ้นเลยที เดียวคือ เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบู๊ตเซกเตอร์ โดยในบู๊ตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฎิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัสประเภทนี้ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไป จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น
ถ้าบู๊ตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ทุก ๆ ครั้งที่บู๊ตเครื่องขึ้นมา ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัว อยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่ จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไปเรียกระบบปฏิบัติการให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
 

 

 2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses หรือ File Intector Viruses) เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรมซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และไวรัสบางชนิดสามารถเข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sysและโปรแกรมประเภท Overlay Programsได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะ เข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรมผลก็คือหลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไป แล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม
การทำงานของโปรแกรมไวรัสโดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำ ทันทีแล้วจึงค่อยให้ โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลังจากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป วิธีการแพร่ระบาดของโปรแกรมไวรัสอีกแบบหนึ่งคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูก เรียก นั้นทำงานตามปกติต่อไป

 

3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมถูกเรียกใช้ทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุดโดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรม พร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริงเพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ ตายใจ จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำ อันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบ คอมพิวเตอร์
ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้า โทรจันอยู่ในนั้น และนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้
 

 

4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses) เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเองได้ เมื่อสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับโดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้ วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

5. สทีลต์ไวรัส (Stealth Viruses) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIRหรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิมทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น