Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 2022

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 143

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 146

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 149

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 44

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 45

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 41

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/src/User/UserHelper.php on line 620
คณิตศาสตร์
Copyright 2024 - โรงเรียนแม่อ้อวิทยาคม ต.แม่อ้อ อ.พาน จ.เชียงราย

ภาพของครูคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่มักถูกมองว่า เคร่งเครียด เอาจริงเอาจัง น่ากลัว ดุ ผู้เขียนเคยสำ รวจความต้องการครูคณิตศาสตร์ของเด็กประถมศึกษาระดับป. 3 และ ป.6 พบว่านักเรียนร้อยละ 80 % ต้องการครูคณิตศาสตร์ที่สอนเข้าใจง่ายและสอนสนุกการสำรวจเด็กเก่งที่สอบชิง ทุนคณิตศาสตร์โอลิมปิกจาก 73 จังหวัดและสำ รวจเด็กเก่งที่สอบแข่งขันของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระราชนูปถัมภ์ พบว่า 75 % ชอบครูคณิตสาสตร์ที่สอนสนุกและจากการสำ รวจของดุสิตโพลเกี่ยวกับครูในดวงใจศิษย์ปี2543 พบว่าเด็กชอบครูที่สอนสนุกเป็นอันดับ 3 จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนพบว่า 9 ใน 10 คนเห็นว่าครูคณิตศาสตร์ดุ เคร่ง เครียด ครูหลายคนพยายามนำ เกม นำ เพลงมาประกอบการสอนให้สนุก บางคนเป็นนักเล่านิทาน ครูคณิตศาสตร์อาจลืมสิ่งหนึ่งที่อาจมีหรือสร้างขึ้นได้ในตัวครูได้ ก็คือ อารมณ์ขันหลายคนที่เห็นความสำ คัญของอารมณ์ขันเชื่อว่า “อารมณ์จะช่วยขยายขีดความสามารถทั้งด้านการสอนของครูและด้านการเรียนของนัก เรียนให้เรียนรู้แจ้งยิ่งขึ้นกว่าปกติ” จากการศึกษาเรื่องการปรุงรสด้วยอารมณ์ขัน ซึ่งเรียบเรียงโดย รศ.ดร.หทัย ตันหยงพบว่าปลายศตวรรษที่ 20 มีความเคลื่อนไหวในการศึกษาด้านอารมณ์ขันกับการสอนได้มี การประชุมสัมมนาอาจารย์ในสหรัฐที่ West La Fayett Indiana ถึง 3 ครั้ง มีการสรุปแนวคิดเกี่ยวกับอารมณ์ขันเป็นโลกทรรศน์ไว้ดังนี้

โลกทรรศน์ที่ 1 อารมณ์ขันทำ ให้ชีวิตในห้องเรียนมีสุข ยิ้มย่องผ่องใส ทำให้การสอนเป็นไปอย่างราบรื่น และเกิดภาวะการเรียนรู้แจ้งได้โดยง่าย
โลกทรรศน์ที่ 2 อารมณ์ทำ ให้ประตูใจของผู้สอนและผู้เรียนเปิดกว้างเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์กันโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
โลกทรรศน์ที่ 3 อารมณ์ขันปลุกจิตสำ นึกของทุกคนในห้องเรียนให้เห็นคุณค่าของการทำ งานร่วมกันอย่างมีความสุข
โลกทรรศน์ที่ 4 อารมณ์ขันเป็นนิมิตรหมายของความจริงใจที่จะมองเห็นความเสมอกันของเพื่อน มนุษย์ในห้องเรียน โดยปราศจากความเหลื่อมลํ้า ความมีปมด้อยความได้เปรียบเสียเปรียบกันและกัน
โลกทรรศน์ที่ 5 อารมณ์ขันสร้างสรรค์บรรยากาศของความอบอุ่น ความรักความเมตตาซึ่งกันและกันที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกื้อกูลซึ่งกันและ กัน
โลกทรรศน์ที่ 6 อารมณ์ขันช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทั้งด้านผู้สอนและผู้เรียนให้เกิดความเชื่อมั่น โดยปราศจากความกลัว ความขัดแย้ง และความเคอะเขิน
โลกทรรศน์ที่ 7 อารมณ์ขันช่วยเพิ่มขีดความสนใจความตั้งใจ กระตุ้นให้กระตือรือร้นในการสอน และอารมณ์ขันก็เป็นตัวยาทำ ลายเชื้อโรคความเหนื่อยหน่ายขจัดอุปสรรคในการทำ งานให้เบาบางหมดสิ้นไป
โลกทรรศน์ที่ 8 อารมณ์ขันช่วยสร้างสภาพการประจักษ์ตน (Self – actualization)ให้แก่ผู้เรียนซึ่งเป็นหนทางให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง พึ่งตนเองทำ ด้วยตนเอง แก้ปัญหาของตนเองได้
โลกทรรศน์ที่ 9 อารมณ์ขันช่วยสร้างแรงกระตุ้นที่ทำ ให้จิตสำ นึกของผู้เรียนตื่นตัวขจัดนิวรณ์ความง่วงเหงาหาวนอนให้หมดไป สามารถควบคุมตัวเองให้มีสมาธิตั้งจิตมั่นในการทำ งานทุกประเภท
โลกทรรศน์ที่ 10 อารมณ์ขันเป็นนิมิตรหมายของเสรีภาพ สรรสร้างความรู้สึกของผู้เรียนปลอดโปร่งโล่งใจ ผ่อนคลายเสมือนได้ปลดปล่อยตนเองจากเครื่องพันธนาการไปสู่ความมีอิสระเสรี
โลกทรรศน์ที่ 11 อารมณ์ขันช่วยคลี่คลายสถานการณ์ทุกกาลเทศะ เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนตั้งสติคุมสติ พิจารณาตนเอง ไตร่ตรองเหตุผล ปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์แวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
โลกทรรศน์ที่ 12 อารมณ์ขันเป็นเหมือนโอสถสวิเศษที่นายแพทย์เยียวยาอาการทรุดโทรมทั้งทางร่าง กายและจิตใจให้ผู้สอนและผู้เรียนกลับฟื้นคืนสู่สภาพปกติโดยปราศจากอาการแทรก ซ้อนอื่น ๆ
โลกทรรศน์ที่ 13 อารมณ์ขันสร้างความรู้สึกร่วมสมัยผสมผสานกลมกลืน อดีต –ปัจจุบันอนาคต ขจัดช่องว่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี ทำ ให้มนุษย์ยังอยากอยู่ร่วมกัน

โลกทรรศน์ต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้จะช่วยปลุกจิตสำ นึกให้ครูผู้สอนเกิดแนวคิดใหม่ ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดและคิดได้อย่างสนุกสนานคุณค่าของอารมณ์ขันในตัวครู Claudia E. Cornett ครูอเมริกันท่านหนึ่งกล่าวถึงคุณค่าของอารมณ์ขันในตัวครู 13 ประการว่า

1. ครูอารมณ์ขันจะมีนิสัยชอบฝึกตนเองให้ใฝ่อารมณ์ขันเป็นนิจและจะกระตุ้นตนเอง ให้มีจุดยืนอยู่ในบุคลิกภาพอารมณ์ขันด้วยศรัทธาเป็นชีวิตจิตใจ
2. ครูอารมณ์ขันจะใช้อารมณ์ขันเป็นเครื่องปรับอากาศให้ห้องเรียนเย็นฉํ่าคลาย ร้อน เพื่อให้ผู้เรียนสร้างสรรค์อย่างสุขเสรีอยู่ตลอดเวลาไม่ส่างซา
3. ครูอารมณ์ขันจะใช้อารมณ์ขันผูกพันสมานมิตรให้ผู้เรียนรักใคร่ปรองดองสนิทสนม กลมเกลียวเกิดเอกภาพในห้องเรียนโดยไม่มีบรรยากาศขุ่นเครียดแม้แต่น้อย
4. ครูอารมณ์ขันจะรํ่ารวยอารมณ์ขันและรู้จักแสวงหาอารมณ์ขันมาเสริมบทเรียนโดย ไม่หมดสิ้น อารมณ์ขันของเขาเหมือนพืชผักงอกงามขึ้นใหม่เสมอ (เพราะถ้าใช้มุขขันซํ้าจะไม่ขำ )
5. ครูอารมณ์ขันดูจะฉลาดกว่าใคร ๆ ในการแก้ปัญหาอันเป็นอุปสรรคกีดขวางการทำ งานร่วมกัน
6. ครูอารมณ์ขันเฉลียวฉลาดกว่าที่คิดเพราะเขาสามารถใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมพื้นฐานของผู้เรียนมาสร้างโดยไม่หมดมุขขัน
7. ครูอารมณ์ขันมักจะเป็นคนสุขภาพดี อารมณ์ดีไม่ค่อยป่วยไข้อย่างคนอื่นอารมณ์ขันจะช่วยให้ร่างกายของเขาสดชื่น ผ่องใส ดูมีสง่าราศีกว่าพวกอารมณ์เครียดซึ่งใบหน้ามักจะหมองคลํ้า
8. ครูอารมณ์ขันมักจะสร้างสรรค์ให้ทุกแห่งน่าอยู่ ชักจูงให้ทุกคนมองโลกในแง่บวกไม่ว่าเจตคติหรือมโนภาพของเขาที่แสดงออกล้วน แต่เป็นสิ่งที่ควรอภิรมณ์ยินดีทั้งสิ้น
9. ครูอารมณ์ขันมีความเชี่ยวชาญในการสร้างแรงจูงใจ และเสริมแรงในการเรียน(Learning Motivation and Reinforcement) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
10. ครูอารมณ์ขันจะถือว่าอารมณ์ขันเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนในห้องเรียน
11. ครูอารมณ์ขันเป็นคนมีนิสัยรักการอ่าน เพราะการอ่านจะช่วยให้เกิดอารมณ์สร้างสรรค์แปลก ๆ ใหม่ ๆ โดยไม่หมดมุขขัน
12. ครูอารมณ์ขันมีความประจักษ์ตนว่า อารมณ์ขันเป็นบุคลิกภาพที่ดีของครูพึงรักให้คงอยู่ตลอดไป
13. ครูอารมณ์ขันย่อมประจักษ์ในคุณค่าของภาวะสุขารมณ์ว่าเป็นหัวใจของการดำรงชีวิตที่ควรจะอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่อย่างถาวรสมํ่าเสมอ

ในทางแพทย์เชื่อว่าขณะมีอารมณ์ดี หรือมีปิติ หรือมีสมาธิ หรือออกกำ ลังกายจะทำให้ต่อมใต้สมองหลั่งสารเอนเดอร์ฟิน ทำ ให้ร่างกายสดชื่น สบาย คลายเครียด ไม่แก่และอายุยืนตรงกันข้าม ถ้ามีการเครียด ความโกรธจะทำ ให้ต่อมหมวกไตปล่อยสารอดรีนารีนทำ ให้หัวใจเต้นแรงทำ งานหนักเกิดการเผาผลาญพลังงาน ความดันโลหิตสูง เป็นบ่อเกิดของโรคหัวใจและนอกจากนี้ยังหลั่งสารสเตอรอยด์มีผลทำ ให้กระเพาะเป็นกรดเป็นบ่อเกิดของโรคกระเพาะได้อารมณ์ขันนั้นมีคุณค่าเกิน คุ้มกับการที่ครูคณิตศาสตร์จะใส่ใจและฝึกฝนตนให้เป็นคนมีอารมณ์ขันบ้าง ทำ ให้ลูกศิษย์ยิ้ม หัวเราะบ้าง แม้จะทำ ได้เพียงน้อยนิดก็ยังดี ไม่ใช่จะพบแต่เรี่องเคร่งเครียดทั้งวัน จะเกิดประโยชน์ต่อตนและต่อลูกศิษย์ ภาพอันน่ากลัวน่าเบื่อของครูคณิตศาสตร์จะได้หายไป

เขียนโดย ผศ.ดร.สมวงษ์ แปลงประสพโชค