Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 1946

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/database/driver.php on line 2022

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 143

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 146

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/libraries/joomla/filesystem/path.php on line 149

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 44

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 45

Deprecated: Array and string offset access syntax with curly braces is deprecated in /home/maeoowit/domains/maeoowit.ac.th/public_html/plugins/system/gantry/functions.php on line 41
ภาษาไทยไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด
พิมพ์
รายละเอียด: | เผยแพร่เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2555 | ฮิต: 1360
สอนการฟังด้วยการจัดกิจกรรม

ทักษะการฟังไม่ได้หมายถึงเสียงที่มากระทบหูเท่านั้น แต่มีขั้นตอนการฟัง ๔ขั้นตอนดังนี้

๑. การได้ยิน             ๒. การเข้าใจ                   ๓. การประเมิน               ๔. การมีปฏิกิริยาโต้ตอบ

การฟังแต่ละครั้งเราต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการฟังให้ชัดเจน ซึ่งวัตถุประสงค์ในการฟัง

มีอยู่ ๔ ข้อดังนี้

๑.       ฟังเพื่อรับความรู้

๒.     ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน

๓.     ฟังเพื่อความจรรโลง

๔.     ฟังเพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน

การฟังเราต้องคำนึงถึงมารยาทในการฟังด้วย ซึ่งมีอยู่หลายข้อด้วยกัน

เช่น มีความตั้งใจและความพร้อมในการฟัง , มีสมาธิติดตามเนื้อหาที่ฟังโดยตลอด , มีจิตใจเป็นกลาง ,และให้เกียรติผู้พูด ,

การฝึกทักษะการฟังด้านต่าง ๆ   สามารถจัดกิจกรรมได้หลายรูปแบบ   และหลายวิธีการ

เช่น ฟังครู   ฟังเพื่อน   ฟังจากแถบบันทึกเสียง วิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ การฟังเพลง บทความ ข่าว โฆษณา ฯลฯ แล้วทำกิจกรรมประกอบ เช่น เล่นเกมตอบคำถาม   เลือกคำตอบ     แสดงความคิดเห็น ปฏิบัติตามคำอธิบาย   ความสำคัญของการฝึกทักษะการฟังเพื่อให้ได้ผลว่า เป็นการฝึกทักษะการฟังด้านใดด้านหนึ่ง อยู่ที่การเลือกเรื่องที่นำมาให้นักศึกษาฟัง   และกิจกรรมที่จัดให้เข้ากับเรื่อง และ             วัตถุประสงค์ของการฝึก

                กิจกรรมฝึกการฟังของนักศึกษามีดังนี้

๑.       กิจกรรมการฝึก การฟังเพื่อปฏิบัติตามคำอธิบาย

๒.     กิจกรรม ฟังเพื่อจับรายละเอียด

๓.     กิจกรรม ฟังอย่างคิด - วิเคราะห์

๔.     กิจกรรม ฟังอย่างมีวิจารณญาณ

 

สอนอ่านด้วยการจัดกิจกรรม

 

การอ่าน เป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญ ที่ไขไปสู่ความฉลาด ความรอบรู้ และ   ความเจริญงอกงามทางด้านสติปัญญา โดยเฉพาะโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การอ่านก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะการอ่านจะช่วยพัฒนา และนำพาชีวิตไปสู่โลกกว้างอย่างเหมาะสม   หรืออาจกล่าวได้ว่า การอ่านเป็นความจำเป็นของชีวิตยุคปัจจุบันยิ่งกว่ายุคที่ผ่านมา เพราะการอ่านทำให้เรา

ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัตถุ วิทยาการต่าง ๆได้ทัน อย่างสะดวกและประหยัด

 

สำหรับนักศึกษานั้น   การอ่านตำราเรียนเป็นสิ่งสำคัญ และ จำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้นักศึกษาจำบทเรียนที่เราเรียนมา ซึ่งจะมีผลต่อคะแนนสอบ และนักศึกษาไม่ควรอ่านหนังสือเล่มเดียว ควรจะอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่มประกอบเพราะจะทำให้นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น และนักศึกษาควรจะอ่านหนังสืออื่น ๆ เพิ่มเติมอีก เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร ฯลฯ เพราะจะช่วยให้ผู้อ่านได้เรียนรู้โลกกว้าง ทันคน ทันโลกทันเหตุการณ์   นำมาปรับใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตได้เป็น อย่างดี ดังคำกล่าวของ ถนอมวงศ์   ล้ำยอดมรรคผล (๒๕๓๗:๗) ว่า ผู้ที่เป็นนักอ่านจะประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงาน ตลอดจนการพัฒนาสังคมส่วนรวมด้วย

 

การอ่านหนังสือแต่ละครั้งเราจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์การอ่านไว้ตลอด ซึ่งวัตถุประสงค์ของการอ่านนั้นมีอยู่ ๕ ข้อ ดังนี้

๑.       อ่านเพื่อศึกษาหาความรู้

๒.     อ่านเพื่อความรู้

๓.     อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน

๔.     อ่านเพื่อนำมาใช้ประกอบอาชีพ

๕.     อ่านเพื่อจรรโลงใจ

 

จากจุดประสงค์ของการอ่านจะเห็นได้ว่าการอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน

แต่มีนักศึกษาบางคนไม่ชอบอ่านหนังสือ ดังนั้น จึงได้จัดกิจกรรมการอ่าน เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษา

รักการอ่าน และเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นความจำเป็นของการอ่าน และสนใจที่จะอ่านหนังสือจนเกิดเป็นนิสัยรักการอ่าน

 

                                        การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในบทเรียน

 

๑.       กิจกรรมฝึกการอ่านออกเสียง ร,ล คำควบกล้ำจากคำประพันธ์ หรือ บทเพลง ยกตัวอย่างเช่น

 

       .......คำประพันธ์......

 

เสียงกรี๊ดกร๊าดเกรียวกราวครึกครื้น

ระริกรื่นหัวร่อคลอเคล้าเสียง

เพลงเพราะพริ้งครวญคร่ำร่ำสำเนียง

คลั่งไคล้เพียงมนตร์ขลังมาพรั่งพรม                  

                                                                   .......นุช ม่วงเก่า.......

 

                                 .................เพลง.................

 

                รักหนอรักไม่จริง ถูกทอดทิ้งใจหาย รักหนอรักกลับกลาย สิ้นสลายกลายขม เราหนอเราต้องตรม สุดระทมขมขื่น

                รักหนอรักเฝ้ารอ เฝ้างอนง้อรอฝืน เราหนอเรากล้ำกลืน ชื่นทนช้ำกำสรวล เราหนอเราคร่ำครวญ เมื่อรักรวนลับล่วง

 

                                                                         ..............ชัยรัตน์ เทียบเทียม................

2. การแข่งขันตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน โดยครูและนักเรียนช่วยกันเลือกหนังสือ บทความ หรือ

ข้อความที่น่าสนใจมาให้นักเรียนอ่าน แล้วครูแบ่งกลุ่มนักเรียน เป็น 2 กลุ่ม ให้สลับกัน   ถาม-ตอบ

คำถามจา

                                                                บรรณานุกรม

 

ถนอมวงค์ ล้ำยอดมรรคผล. การอ่านให้เก่ง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์, ๒๕๓๗.

นุช ม่วงเก่า. การนำเสนอโครงการกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยระดับ

             มัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๓๓.

โอภาส อาจอารมณ์. ความรู้ ๕ นาที. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต, ๒๕๑๘.

ที่มา : http://www.lamptech.ac.th/article/04.htm